BECOME AN ACTUARY

การสอบรับรองมาตรฐานวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันวินาศภัย

การที่นายทะเบียนกำหนดให้เงินสำรองค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย คำนวณตามประสบการณ์จริงของบริษัทด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นสากล รวมทั้งจะต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้ลงนามรับรองจำนวนเงินสำรองค่าสินไหมทดแทนที่แสดงในงบบัญชีของบริษัทนั้น ทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยอาจจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการสร้างบุคลากรด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยจริงจังมากขึ้น ทั้งในด้านการเพิ่มจำนวนบุคลากรในตลาดนี้ และการพัฒนาคุณภาพบุคลากรที่มีอยู่แล้วให้ได้ตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ

เส้นทางสู่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยระดับสากลในต่างประเทศ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากลนั้น จะต้องผ่านการทดสอบจากองค์กรวิชาชีพชั้นนำด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามสายงานที่นักคณิตศาสตร์ฯ ทำงานอยู่

ในที่นี้ขอแนะนำ 2 องค์กร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในระดับสากล คือ

  1. CAS (Casualty Actuarial Society) องค์กรวิชาชีพสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันวินาศภัย (ที่จะกล่าวเน้นเป็นพิเศษในบทความนี้)
  2. SOA (Society of Actuaries) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันชีวิต

แต่ละองค์กรจะมีการจัดการสอบวัดผลในระดับต่างๆ ขึ้นทุกปี ตามศูนย์สอบในเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยการได้รับการรับรองตามมาตรฐานจาก CAS และ SOA นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

  1. ระดับ Associateship
  2. ระดับ Fellowship
ซึ่งเกณฑ์ที่จะต้องผ่านการสอบวัดผลในแต่ละระดับนั้นก็จะมีมากขึ้นไปตามระดับ

ผู้ที่จะได้เป็น Associateship ของ CAS หรือ ACAS จะต้องผ่านการสอบวัดผลรวมทั้งสิ้น 7 วิชา ตามเกณฑ์ของ CAS โดยในปี ค.ศ. 2006 มีการกำหนดวิชาต่างๆ ไว้ดังนี้ คือ
Exam 1/P
Probability
Exam 2/FM
Financial Mathematics
Exam 3
Actuarial Models
Exam 4/C
Construction and Evaluation of Actuarial Models
Exam 5
Introduction to Property and Casualty Insurance and Ratemaking
Exam 6
Reserving, Insurance Accounting Principles, and Reinsurance
Exam 7
(United States) Annual Statement, Taxation, and Regulation
หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานประมาณพอสมควรแล้ว ผู้ที่สอบได้ Associateship แล้ว หลายๆ คนมักจะสนใจสอบต่อเพื่อให้ได้ Fellowship ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของทั้งสององค์กร สำหรับผู้จะได้เป็น Fellowship ของ CAS หรือ FCAS จะต้องสอบผ่านการสอบวัดผลอีก 2 ระดับ คือ
Exam 8
Investments and Financial Analysis
Exam 9
Advanced Ratemaking, Rate of Return, And Individual Risk Rating Plans
นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 นอกเหนือจากการสอบ Exam ต่างๆ แล้ว ผู้ที่จะได้การรับรองจากทั้ง CAS และ SOA ยังต้องผ่านการสอบในส่วนที่เรียกว่า Validation by Educational Experience (VEE) ด้วย ซึ่ง VEE จะมีเนื้อหาวิชาด้านสถิติประยุกต์ เศรษฐศาสตร์ และการเงินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การผ่าน VEE นั้น สามารถใช้วิธีเทียบโอนเครดิตได้โดยไม่ต้องสอบด้วย หากผู้เข้าสอบเคยผ่านการลงเรียนเนื้อหาวิชาข้างต้นมาแล้วในระดับปริญญาโดยได้เกรดตั้งแต่ B– ขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ในบางปีทาง CAS หรือ SOA ก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการสอบในระดับต่างๆ อยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นที่ผู้สนใจจะต้องติดตามข้อมูลใหม่ๆ จากเว็บไซต์ของ CAS (http://www.casact.org) หรือ SOA (http://www.soa.org)

อนึ่ง เนื้อหาวิชาในบางระดับที่ใช้สอบวัดผลของนักคณิตศาสตร์ด้านประกันวินาศภัยและนักคณิตศาสตร์ด้านประกันชีวิตนั้น มีรายละเอียดที่เหมือนกัน ทาง CAS และ SOA จึงได้มีความร่วมมือกันในการจัดสอบร่วม นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่สนใจจะสอบให้ได้รับการรับรองไม่ว่าจะจาก CAS หรือ SOA จึงสามารถที่จะลงทะเบียนสมัครสอบกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งนี้ก็ได้ในวิชาที่สอบร่วมกัน จากนั้นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแต่ละคนจึงค่อยแยกกันไปสอบวัดผลเฉพาะทางที่เน้นทางด้านประกันวินาศภัยกับ CAS หรือด้านประกันชีวิตกับ SOA ตามระดับที่แต่ละองค์กรกำหนดต่อไป

การเตรียมตัวสู่อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

ที่จะเข้าสู่สายอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี เนื่องจากงานที่ทำต้องเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ รวมทั้งยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจเป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการตัดสินใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจจะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในอนาคต ควรเป็นผู้ที่มีใจรักคณิตศาสตร์ และสอบได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ย สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ก็ควรเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไว้หลายๆ วิชา ตลอดช่วง 4 ปี โดยเฉพาะวิชาพีชคณิตและการประยุกต์ ควรมีเวลาฝึกฝนให้มาก

นอกจากนี้ ควรเลือกเรียนวิชาทางแคลคูลัส วิชาความน่าจะเป็น และสถิติด้วยการเรียนในเมืองไทยนั้น การเตรียมตัวที่ดีที่สุดเพื่อเข้าสู่สายอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย คือ ในระดับปริญญาตรีควรเลือกเรียนวิชาเอกทางด้านประกันภัย คณิตศาสตร์ หรือสถิติ หรือวิชาเอกทางด้านบริหารธุรกิจ หรือเรียนวิชาเอกทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีวิชาโททางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือคณิตศาสตร์ หรือสถิติ

ซึ่งปัจจุบันในเมืองไทยมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ได้แก่

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
และหากจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทก็จะมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรงในระดับปริญญาโท ได้แก่
  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี


ส่วนใหญ่ที่เปิดสอนวิชาเอกทางด้านประกันภัยนั้น จะเน้นหลักการทั่วไปของการประกันภัย ทั้งในส่วนของการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต มากกว่าการเน้นไปทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง อย่างไรก็ตาม อาจมีการสอนหลักพื้นฐานในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นบางรายวิชา

การเรียนการสอนในระดับปริญญาโท


จะเน้นทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง

การเตรียมตัวที่ดีในด้านการศึกษานั้น ถือเป็นบันไดขั้นหนึ่งที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในอนาคต ซึ่งนอกจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทแล้ว การเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบรับรองมาตรฐานสากลในสายงานอาชีพนี้ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยในต่างประเทศ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและสามารถทำงานได้ทั่วโลก จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับรองมาตรฐานจากสมาคมชั้นนำด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามสายงานด้านประกันภัยที่ตนเองสนใจหรือประกอบอาชีพในด้านนั้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จะมีการจัดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้แก่ การสอบกับ CAS (Casualty Actuarial Society) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันวินาศภัย หรือการสอบกับ SOA (Society of Actuaries) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันชีวิต เป็นต้น

โดยการสอบนี้สามารถทำควบคู่ไปได้ขณะที่เรากำลังเรียนอยู่ และสามารถสอบเพื่อรับรองมาตรฐานนี้ได้โดยผ่านศูนย์สอบที่มีอยู่ในประเทศไทยรายละเอียดในการสอบต่าง ๆ ของ CAS และ SOA สามารถดูได้จากเว็บไซต์ (http://www.casact.org) และ (http://www.soa.org)

TOP 10 REASONS TO CONSIDER BEING AN ACTUARY

  1. You are self-motivated, goal oriented, and have superior math aptitude and communication skills.
  2. You want a highly competitive salary and excellent benefits. And the #1 reason to Be An Actuary is ...
  3. You want to be able to choose among outstanding job offers.
  4. You want a career that you control because advancement is merit-based.
  5. You would like to "earn while you learn".
  6. You want a career with many opportunities that will provide you with skills that are transferrable across multiple industries.
  7. You want a professional title, but don’t want to be a doctor, lawyer or accountant.
  8. You want a career with superior job security through economic cycles.
  9. You don’t want to go to graduate school.
  10. You want a career that is dynamic and challenging.