ข่าวและกิจกรรมสมาคม

แถลงข่าวสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย วันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ กรุงเทพฯ


1. แนะนำคณะกรรมการชุดใหม่ของสมาคม 

1.1 รายชื่อคณะกรรมการสมาคมฯ ประจำวาระที่ 2560-2562

 

ตำแหน่งในสมาคม

ชื่อ นามสกุล

บริษัท

นายกสมาคม

นายพิเชฐ  เจียรมณีทวีสิน

บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชัน จำกัด

อุปนายกสมาคม

นางชญณา ศิริภิรมย์

บริษัท แอกซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อุปนายกสมาคม

นายนิติพงษ์  ปรัชญานิมิต

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

เหรัญญิก

นายอิฎฐ์  อภิรักษ์ติวงศ์

บริษัท ทีเอเอส คอนเซ้าท์ติ้ง จำกัด

เลขาธิการ

ดร. ปิยวดี โขวิฑูรกิจ

บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

กรรมการ

นางสาววิไลพร  สุวรรณมาลัย

บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

กรรมการ

นายจักรพันธ์  เหลืองนฤมิตชัย

บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

กรรมการ

นายธนวงศ์ บุญยศิริวงศ์

บริษัท เอไอเอ จำกัด

กรรมการ

นายโยคิน โยคี

บริษัท เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

กรรมการ

นายธัญนพ เหล่าสุขศรีงาม

บริษัท ไทยรี แอคชัวเรียล คอนซัลติ้ง จํากัด

กรรมการ

ดร. พีรภัทร ฝอยทอง

บริษัท แมนูไลฟ์ ประเทศไทย

 

1.2 วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้เป็นมืออาชีพ ถึงพร้อมด้วยจรรยาบรรณ เพื่อให้บริการและรองรับการแข่งขันในระดับสากล”

1.3 พันธกิจ

พันธกิจที่ 1: นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

1. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ

2. สร้างความเชื่อมั่นและการเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล

3. ยกระดับการให้บริการกับสมาชิก

พันธกิจที่ 2: หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

1. ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้รองรับสังคมผู้สูงอายุ   และสร้างระบบการเงินให้แข็งแกร่งในระดับสากล

พันธกิจที่ 3: หน่วยงานกำกับดูแล (สำนักงาน คปภ)

1. ขยายความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงาน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานกำกับดูแล

2. ส่งเสริมให้ธุรกิจควบคุมดูแลกันเอง

พันธกิจที่ 4: Prospects / ผู้ที่สนใจในวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย

1. สนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมฯ

2. เพิ่มการตระหนักรู้ในวิชาชีพและความสำคัญของวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

1.4 โครงสร้างใหม่คณะอนุกรรมการของสมาคมฯ


1.4.1 อนุกรรมการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์

เป้าหมาย

1.  เสริมสร้างความเข้าใจถึงมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้กับผู้บริหารบริษัทประกันภัย นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

2.  ประชาสัมพันธ์และสื่อสารเส้นทางสู่การเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

3.  ปรับปรุงและพัฒนาภาพลักษณ์ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.          CSR Project

2.          ประชาสัมพันธ์ผลประโยชน์ของสมาชิกที่จะได้รับ

3.          จัดทำเว็บไซต์สมาคมฯ

4.          จัดทำวารสาร Sawasdee Actuary

5.          จัดทำ VDO Clip เพื่อประชาสัมพันธ์อาชีพนักคณิตศาสตร์

1.4.2 อนุกรรมการฝ่ายจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ

เป้าหมาย

1. จัดทำหลักจรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติทางวิชาชีพ

2. สร้างหลักสูตรการอบรมCPDของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามคุณวุฒิในระดับต่างๆ

3. เชื่อมต่อกับCPDจากสภาวิชาชีพหรือสมาคมวิชาชีพอื่น อาทิเช่น สภาวิชาชีพบัญชี สมาคมนักวางแผนการเงิน สมาคมตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต

4. จัดอบรม/ สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.          จัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะบริหารสมาคมฯ

2.          วางแผนโครงสร้าง CPD

1.4.3 อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

เป้าหมาย

1.  พัฒนา/จัด หลักสูตรอบรมสัมมนาเพื่อเสริมสร้าง/เพิ่มพูนความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยให้ก้าวทันปัจจุบัน

2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย

3.  ให้ความร่วมมือ/ให้คำปรึกษาแก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคปภ.  สภาวิชาชีพบัญชี ภาคธุรกิจ ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย

4.  ให้ความร่วมมือแก่สถาบันการศึกษาในการพิจารณาหลักสูตร วิชาการ การสอน การอบรม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย รวมทั้งการแนะแนวเส้นทางอาชีพให้กับนักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่

5.  กิจการเกี่ยวกับ เรื่องอื่นทางวิชาการที่ได้รับมอบหมาย

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.          ให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโปรเจ็คของ University of Waterloo-Readi Project

2.          ประชุมเรื่องความเข้าใจในใบอนุญาตนักคณิตศาสตร์ประกันภัยร่วมกัน กับทางสำนักงานคปภ. และสภาวิชาชีพบัญชีฯ

3.          เข้าร่วมงานสัมมนาการเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินและสัญญาประกันภัย

1.4.4 อนุกรรมการฝ่ายบริหารและฐานข้อมูลสมาชิก

เป้าหมาย

1.          บริหารสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยให้สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นไปอย่างราบรื่น

2.  ทำงานร่วมกับสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในต่างประเทศ เพื่อยกระดับสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย สู่ระดับสากล

3. กำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวนสมาชิกของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยทั้งทางด้านประกันชีวิตและด้านประกันวินาศภัย ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิก

4.  ทบทวนกฎข้อบังคับของสมาคมรวมถึง นำเสนอแผนการพัฒนาสมาคมเป็นสภาวิชาชีพในระยะยาว

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.          แก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับสมาคมฯ ส่วนของการเพิ่มประเภทสมาชิก

2.          อำนวยการสอบ SOA กับ CAS ประจำปี 2560

3.          การลงทุน โดยเลือกซื้อกองทุนเพื่อบริหารทรัพย์สิน

4.          ประสานงานและให้ความร่วมมือกับ IFOA เช่น งานสัมมนา IFOA Conference 2018

5.          ประสานงานและให้ความร่วมมือกับ SOA เช่น SOA General Insurance Outreach Presentation, 2017 Professionalism in Practice Course

1.4.5 อนุกรรมการฝ่ายจัดอบรมสัมมนา

เป้าหมาย

1. จัดสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่สมาชิกและผู้ที่สนใจ

2. ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อเป็นการสนับสนุนการการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuing Professional Development: CPD)

3. ร่วมกับสภาฯ หรือ สมาคมฯ ของวิชาชีพอื่นในการดำเนินการเพื่อจัดสัมมนาร่วม

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1.          JRS: Divergent - The devil is in the details – Aug 2017

2.          Lunch Talk - Aug 2017 by Mr. Craig Turnbull at OLI

3.          Life Insurance Forum: IFRS17 - 13/14 Dec 2017


 Key message


1. ธุรกิจประกันเป็นเรื่องของสัญญา ต่างจากการซื้อสินค้าที่เราจ่ายเงินแล้วได้ของกลับมา แต่การทำประกัน เราได้เพียงกระดาษที่มีข้อตกลงว่าจะจ่ายเงินให้เราเมื่อถึงกำหนดคืนกลับมาเท่านั้น แถมเป็นการบอกถึงอนาคตล่วงหน้าอีก 10-20 ปี ซึ่งเราก็ไม่รู้เลยว่าบริษัทประกันนั้นจะยังคงดำเนินกิจการต่อไปหรือไม่ ดังนั้น ธุรกิจประกันจึงต้องอาศัยความเชื่อมั่นจากลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความเชื่อมั่นนี่แหละ


2. สมาคมฯ จะเพื่อคุณค่าให้กับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และเน้นการเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพตามที่ท่านเลขาฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ (ท่านกล่าวว่า - คุณภาพ ของนักคณิตศาสตร์ไประกันภัยไม่ใช่แค่เรื่องความสามารถและจรรยาบรรณความซื่อสัตย์ไปพร้อมๆ กัน) และทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงวิชาชีพนี้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้ประสานงานกับทางสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยทั่วโลก เช่น IFOA SOA และ CAS ในการจัดทำข้อสอบภาษาไทยแต่มาตรฐานของข้อสอบยังเป็นสากล ที่ทางสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนานาชาติยังรับได้ และทางสมาคมฯ จะคอยประสานงานกับทางมหาวิทยาลัยที่ได้เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาชีพนี้


3. วิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นวิชาชีพที่จำเป็น และมีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจประกันภัย ซึ่งหากวิชาชีพนี้แข็งแกร่ง ธุรกิจประกันภัยก็จะมีความแข็งแกร่งเช่นกัน ตามที่ท่าน ดร. สุทธิพลได้กล่าวในการเปิดงาน IFOA 2018 ว่า “สำนักงานคปภ. ให้ความสำคัญกับวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย เนื่องจากมีหน้าที่สำคัญในธุรกิจประกันภัย ในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร การเฝ้าระวังการชำระหนี้ การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ และการประเมินความรับผิดขององค์กร อย่างไรก็ตาม จำนวนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในประเทศไทยนั้นยังมีค่อนข้างจำกัด  สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในการแนะนำวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย และส่งเสริมบทบาทของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาและวิชาชีพเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัยในประเทศไทย”


4. ระดับคุณวุฒิของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย มี 3 ระดับ

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระดับ 1 คือผู้ที่สอบผ่านวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่เทียบเท่าความรู้ระดับปริญญาตรี เช่น คณิตศาสตร์การเงิน สถิติความน่าจะเป็น ทฤษฎีและการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์การเงินต่างๆ

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระดับ 2   ระดับแอสโซซิเอท คือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยระดับ 1 ที่มีประสบการณ์ และสอบผ่านความรู้ที่นำมาประยุกต์ได้จริง เช่น Fundamental of Actuarial Practice หรือ Core Practice 

(คำนวณเบี้ยปนะกันภัย ความเสี่ยง เงินสำรอง)

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระดับ 3 ระดับเฟลโล คือผู้ที่มีคุณวุฒิในการประกอบวิชาชีพนี้โดยสมบูรณ์แล้ว

หน้าที่ของนักคณิตศาตร์ประกันภัย คือ 1- คำนวณหรือวางระบบให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้เงินคืนตามที่บริษัทสัญญาไว้ (รับรองการตั้งตั้งสำรองคณิตศาสตร์ประกันภัยและบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม) และ 2 – มั่นใจว่าเบี้ยประกันที่ลูกค้าจ่ายมา จะไม่ทำให้บริษัทประกันขาดทุน


5. นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างผู้กำกับดูแล ผู้บริโภค บริษัทประกันภัย และคนกลางประกันภัย โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่สะท้อนถึงความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยรวมถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยสามารถทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงให้กับผู้เอาประกันภัยได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และธุรกิจประกันภัยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน


6. ในอนาคต เมื่อ “มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (IFRS 17)”ประกาศใช้ นักคณิตศาสตร์จะทำงานร่วมกับนักบัญชีมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักบัญชีก็ต้องเข้าใจถึงหลักการในการคำนวณของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องเข้าใจหลักการของนักบัญชีเช่นกัน


7. สภาวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย – มีทิศทางว่าจะเป็นได้ในอนาคต ถ้าคณิตศาสตร์ประกันภัยได้รับการเปิดโอกาสให้ทำงานในธุรกิจอื่น ซึ่งทำให้ต้องการมีกฎหมายรับรองด้วย ที่นอกเหนือจากธุรกิจประกัน แต่ในขณะนี้ ถ้านักคณิตศาสตร์ประกันภัย ทำงานอยู่ในธุรกิจประกันเพียงอย่างเดียว พรบ.ประกันชีวิต และ พรบ.ประกันวินาศภัย ก็มีกฎหมายรับรองเพียงพออยู่  โดยในขณะนี้จะเห็นว่าคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องใช้ในธุรกิจอื่นมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การคำนวณผลประโยชน์พนักงานที่ต้องตั้งสำรอง ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ

ยกตัวอย่างเช่น ทางกฎหมายแรงงานได้เปลี่ยนแปลงจาก 300 วัน เป็น 400 วัน ถ้ากรณีอายุงานครบ 20 ปี ในกรณีคำนวณเงินสำรองเลี้ยงชีพตรงนี้ก็ใช้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยในการคำนวณเช่นกัน


8. จากสถิติของ A.M. Best ซึ่งได้รวบรวมสาเหตุหลักของการล้มละลายของบริษัทประกันวินาศภัยในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 พบว่า 44% มีสาเหตุมาจากเบี้ยประกันภัยหรือการตั้งเงินสำรองที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยและเงินสำรองประกันภัยให้มีความเหมาะสมและเพียงพอกับภาระผูกพันและหนี้สินทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้บริษัทประกันภัยล้มละลายได้