แอดชัวรี่คือใคร

ว่ากันว่าถ้าเอ็มดีของบริษัทประกันเปรียบเสมือน "เล่าปี่" Actuary หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็ไม่ต่างอะไรกับ "ขงเบ้ง" กุนซือที่กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลัง คอยวิเคราะห์กลยุทธ์ประเมินเกม ในสหรัฐอเมริกานั้น วิชาชีพนี้กำลังบูม เช่นเดียวกับประเทศจีนที่พ่อแม่เบนเข็มส่งลูกเรียนทางนี้มากขึ้น หากกับประเทศไทยวิชาชีพนี้กลับเป็นเรื่องใหม่และขาดแคลน

"พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน"

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชันแนล แอสชัวรันส์ จำกัด หรือ เอไอเอ ประจำสำนักงานใหญ่ประเทศฮ่องกง หนุ่มวัย 28 ปี คือ 1 ใน 4 ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคนไทย ที่ได้รับคุณวุฒิ Fellowship of the Society of Actuaries (FSA) ด้วยอายุน้อยที่สุดใบคุณวุฒิที่ขึ้นชื่อว่าทั้งหินทั้งสาหัส สำหรับผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยชั้นสูง

(Actuary) หลายคนต้องเสียเวลาศึกษาเพื่อจะสอบให้ผ่านถึงระดับนี้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่กับหนุ่มคนนี้ใช้เวลาพิชิตคุณวุฒิดังกล่าวเพียง 4 ปี เท่านั้น

เขาบอกเราว่า
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นวิชาชีพที่ต้องมีคุณวุฒิ ต้องผ่านการสอบและการศึกษาอย่างหนัก และการสอบเพื่อเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีหลายระดับ นั่นคือ การสอบผ่าน 6 คอร์ส ก็จะได้คุณวุฒิ Associate of the Society of Actuaries (ASA) และสอบอีก 2 คอร์ส ก็จะได้คุณวุฒิ Fellowship of the Society of Actuaries (FSA) โดยไม่มีการเรียนการสอน แต่เป็นลักษณะแนะนำให้ศึกษาด้วยตัวเอง แล้วมาสอบ ซึ่งจะต้องผ่านการสอบข้อเขียน การสัมมนา และทำโครงงานวิชาการ เป็นการสอบพร้อมกันทั่วโลก ปีละ 2 ครั้ง

การสอบมีทั้งสอบด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย สถิติ การเงิน เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย งบการเงิน บัญชี วิธีการลงทุน ซึ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • ถ้ายังสอบไม่ครบหมดก็จะเรียกว่า Actuarial Student และ
  • เมื่อจบแล้วก็จะถูกเรียกว่า Qualified Actuary
ซึ่งการจะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เราต้องเป็น Qualified Actuary ให้ได้ก่อน แม้จะเรียนจบระดับปริญญาโทมา ก็ต้องมาสอบเป็น FSA อยู่ดี

พิเชฐบอกเราว่า
การที่เขาสามารถสอบผ่านจนได้วุฒิ FSA ในเวลาไม่นานนั้น มีเคล็ดลับอยู่ที่ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทุ่มเทต่อการอ่านหนังสืออย่างหนัก รวมถึงการสอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักกัน การใช้บริการ study group website สำหรับให้ผู้ที่จะสอบมีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมถึงสามารถสอบถามสิ่งที่ไม่เข้าใจผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวได้ด้วย ผลตอบแทนของความสำเร็จไม่เพียงค่าวิชาชีพที่ไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ในอเมริกา นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะมีรายได้กว่า 100,000 ดอลลาร์ต่อปี และที่ประเทศจีนก็กำลังโปรโมทอาชีพนี้อย่างหนัก มีผู้สนใจสอบไม่ต่ำกว่า 4-5 พันคนต่อครั้ง โดยเชื่อว่าในอีก 5 ปี ข้างหน้า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดแต่ที่มากกว่านั้นคือ บทบาททางอาชีพที่เปรียบเสมือน "กุนซือ" กำกับยุทธศาสตร์ขององค์กร …

นักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็คือผู้ที่ทำสิ่งที่ไม่แน่นอนให้มีความแน่นอนขึ้น ซึ่งบริษัทประกันภัยมีหน้าที่บริหารความเสี่ยง หน้าที่ของเราคือประเมินว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้นทุนจะเป็นอย่างไร นโยบายของภาครัฐถ้าหากเปลี่ยนไปจะส่งผลอย่างไร อัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ในวันนี้การออกสินค้า การตั้งราคา การจ่ายผลประโยชน์ลูกค้า ตัวแทน การขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึง การตั้งเงินทุนสำรอง ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้บริษัทอยู่รอดและไม่ขาดทุนในอนาคต โดยการตั้งสมมติฐานที่แม่นยำที่สุด

พิเชฐบอกเราว่า
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีความสำคัญในบริษัทประกันภัยมาก เรียกว่า "ชี้เป็นชี้ตาย" บริษัทนั้นๆ ได้เลย ถ้าสมมติฐานที่ตั้งมาทำอย่างรอบคอบและดีแล้ว บริษัทก็จะอยู่ได้ แต่หากไม่แม่นยำพอ หรือประเมินสถานการณ์ผิดพลาดมีผลให้บริษัทล้มเหลว และขาดทุนได้ ซึ่งเป็นการทำงานที่ครอบคลุมหลายๆ ส่วน โดยมีทั้งในส่วนของหน้าบ้านและหลังบ้าน เช่น ในการออกผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะติดต่อกับการตลาด ตัวแทน อาจทำในลักษณะสัมภาษณ์กลุ่ม พูดคุยกับตัวแทนว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อเก็บไอเดียออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์อย่างสมดุล ที่สำคัญต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมด้วยนอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์ยังต้องประเมินว่า เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ดอกเบี้ยมีความผันผวนไหม อัตรามรณะเป็นอย่างไร เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปแค่ไหน เพื่อประเมินอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคต่างๆ ที่จะลดลงได้ ทั้งหมดจะบอกกำไรขาดทุนของบริษัทได้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยยังต้องกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสม การกำหนดราคาไม่ยากนัก เพียงแค่คีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ก็จะมีรายละเอียดออกมาแล้ว แต่สิ่งที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะต้องทำ คือ มองสมมติฐานให้ออกว่าดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร บริษัทต้องมีการลงทุนแบบใดถึงจะได้ผลตอบแทนสอดคล้องผลประโยชน์ด้านกรมธรรม์ ด้านราคาต้องหนักแน่นเรื่องสมมติฐาน ทำให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องทำงานร่วมกับฝ่ายลงทุน โดยบอกไปว่าจะลงทุนประมาณนี้ ควรซื้อความเสี่ยงแบบไหน ประมาณเท่าไร เราต้องกำหนดการลงทุนร่วมกับฝ่ายลงทุน เรียกว่าพูดคุยกันว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหน ก็เสนอไป

แม้แต่การกำหนดโครงสร้างผลตอบแทนนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ยังต้องคำนวณว่าควรจะจ่ายผลตอบแทนแก่ตัวแทนในอัตราเท่าไรจึงจะเหมาะสมและบริษัทไม่รับภาระมากจนเกินไป หรือการออกแคมเปญก็ต้องได้ผ่านความเห็นชอบจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็เหมือนนักเศรษฐศาสตร์บวกกับนักพยากรณ์ รวมถึงต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบริษัทด้วย

นักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมองทุกอย่าง สินค้าที่ต้องขายต้องเป็นแบบไหน อายุของผู้เอาประกันต้องเป็นยังไง ต้องมีเหตุผลว่าทำไมอายุที่ไม่อยู่ในข่ายที่กำหนดถึงซื้อไม่ได้ รวมถึงการจัดการด้านความเสี่ยงการลงทุน เรียกว่าทุกๆ อย่างต้องมองให้ออก ตั้งสมมติฐานให้ได้

สำหรับงานหลังบ้าน พิเชฐบอกว่า
เขาจะดูในส่วนของการจัดการบริษัทอย่างไร เช่น ต้องตั้งเงินสำรองอย่างไร ทำอย่างไรที่จะให้บริษัทอยู่รอดได้ในอีก 100 ปี ข้างหน้า ต้องมีวิธีการจัดการอย่างไรที่จะออกแบบสินค้า วิธีการลงทุน จัดการกับความเสี่ยงอย่างไร รวมถึงบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องการจ่ายผลประโยชน์ลูกค้า ควรมีเงินปันผลอย่างไร และเกี่ยวกับการประกันภัยต่อด้วย โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะเป็นผู้ไปช็อปปิ้งบริษัทประกันภัยต่ออีกที

การที่ธุรกิจประกันในหลายๆ ประเทศ ขาดแคลนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น เป็นเพราะอาชีพนี้เติบโตไม่ทันการเติบโตของตลาด อาชีพนี้ขาดแคลน เพราะสอบผ่านยากมาก ต้องใช้เวลาสอบเป็นสิบๆ ปี คนไทยที่ผ่านมาก็ใช้เวลาในการสอบให้ผ่านถึง 13 ปี ในขณะที่ต่างประเทศ คนเก่งๆ ก็นิยมเข้ามาสอบ เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่กำลังขาดแคลนเช่นเดียวกัน โดยทั่วโลกมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยระดับ FSAประมาณ 35,000 คน แต่สำหรับประเทศไทยมีเพียง 4 คนเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีถ้าทุกคนหันมาสนใจอาชีพนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับเทรนที่เกิดขึ้นทั่วโลกเวลานี้

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ติด 1 ใน 10 อาชีพทำเงินในจีน

ปัจจุบันนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในจีนที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมีอยู่ไม่ถึง 10 คน ในขณะที่ธุรกิจประกันภัยข้ามชาติกำลังรุกเข้าสู่ตลาดจีน พร้อมๆ กับการเติบโตของธุรกิจประกัน ทำให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยกำลังเป็นที่ต้องการตัวเพิ่มมากขึ้นรายได้ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในต่างประเทศนั้นอยู่ที่ปีละ100,000 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในจีนทุกวันนี้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้เงินเดือนแค่ราว 10,000 หยวน จึงยังมีช่องว่างของรายได้ให้ขยับขึ้นอีกมาก อีกทั้งทัศนคติเชิงบวกกับการทำประกันเริ่มมีมากขึ้นในจีน ทำให้ธุรกิจนี้มีอนาคตที่รุ่งเรือง ส่งผลให้ต้องการบุคลากรด้านนี้อีกจำนวนมาก คาดว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2010 นักคณิตศาสตร์ประกันภัยในแดนมังกรจะมีรายได้ราว 150,000 หยวนต่อปี(หมายเหตุ : 1 หยวนเท่ากับประมาณ 5 บาท)

เรื่องน่ารู้ในการสอบของ Actuary

ใน Society of Actuaries แห่งสหรัฐอเมริกานั้น มีสมาชิกนักคณิตศาสตร์ประกันภัย 2 ระดับ คือ Associateship (ASA) และ Fellowship (FSA) จากหลักสูตร ปี ค.ศ. 2000 การที่จะได้ Associateship นั้นต้องสอบผ่าน 6 วิชา และการที่จะได้ Fellowship นั้นต้องสอบผ่านเพิ่มอีก 2 วิชา ส่วนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ทำงานด้านวินาศภัยโดยตรงจะเป็นสมาชิกของ Casualty Actuarial Society ได้นั้นต้องสอบผ่าน 7 วิชาเพื่อได้เป็นสมาชิกระดับ Associateship (ACAS) และต้องสอบเพิ่มอีก 3 วิชาเพื่อได้เป็นสมาชิกระดับ Fellowship (FCAS) สำหรับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในสหรัฐอเมริกานั้น การสอบมักเป็น requirement และ เงื่อนไขเงินเดือน ควบคู่กับการทำงาน เช่น หากสอบผ่านจะได้เงินเดือนขึ้น 5,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีนอกจาก merit increase ปกติ แต่ถ้าหากสอบไม่ผ่านติดต่อกัน 3 ครั้งก็ต้องถูกพิจารณาให้ลาออก เป็นต้น เห็นได้ว่าในสหรัฐอเมริกานั้นได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาศาสตร์นี้ในการทำงานโดยตรง

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ .10 อาชีพเล็งโกยเงินแดนมังกร. 16 มีนาคม 2549
บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน จดหมายข่าว IPRB ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2549

งานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายส่วนในบริษัทประกันภัย โดยอาจมีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในส่วนงานนั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น

Pricing Actuary

ในทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย Pricing Actuary มีบทบาทในการวิเคราะห์กำไรจากราคาในช่วงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งการคำนวณราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม คือ มีความสมดุลในเรื่องกำไรของบริษัท ความพึงพอใจของลูกค้า และความพึงพอใจของตัวแทน/นายหน้า ถือเป็นเรื่องท้าทายของ Pricing Actuary นอกจากนี้ ในระหว่างที่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ อยู่ในตลาด Pricing Actuary ก็จะคอยติดตามด้วยว่าสถานการณ์ได้เป็นไปตามสมมติฐานในการกำหนดราคาหรือไม่ หากมีผลกระทบเชิงลบเกิดขึ้น Pricing Actuary จะบ่งชี้ปัญหาและเสนอทางแก้ไขแก้ผู้บริหารโดยเร็ว

Corporate Actuary

เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีบทบาทรับผิดชอบในการคำนวณเงินสำรองค่าสินไหมทดแทนและเงินกองทุนของบริษัท โดยในการคำนวณเงินสำรองฯ นั้นก็เพื่อให้เพียงพอต่อผลประโยชน์ที่จะต้องจ่ายตามสัญญาประกันภัย และการคำนวณเงินกองทุนที่บริษัทจำเป็นต้องดำรงไว้ก็เพื่อให้เพียงพอต่อความเสี่ยงภัยที่บริษัทรับไว้ โดย Corporate Actuary จะนำเสนอเรื่องนี้ต่อผู้บริหาร รวมทั้งยังต้องคอยรักษาระดับอันดับ จากสถาบันจัดอันดับ (Rating Agency) ตามนโยบายของแต่ละบริษัท และต้องคอยดูแลให้การปฏิบัติงานด้านการเงินในบริษัทเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยด้วยCorporate Actuary ยังมีบทบาทสำคัญในกรณีที่มีการร่วมทุนและการขยาย (ลด) กิจการ โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางการเงินภายใต้สมมติฐานต่างๆ รวมทั้งบ่งชี้ถึงข้อควรระวังที่ควรติดตามใกล้ชิด ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนทางธุรกิจของหน่วยงาน

Ad-hoc Actuary

เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีบทบาทในการวางแผนงานรับมือในกรณีที่มีเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งมีผลกระทบกับบริษัทเกิดขึ้น เช่น กรณีเกิดภัยธรรมชาติ หรืออุบัติภัยต่างๆ Ad-hoc Actuary จะเข้ามามีบทบาทรับผิดชอบในการปฏิบัติการวิเคราะห์และพยากรณ์ผลกระทบทางการเงินต่อบริษัทให้ทันท่วงที เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนเตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะกระทบต่อความมั่นคงของบริษัท รวมทั้งนำเสนอแนวทางลดความรุนแรงของผลกระทบให้กับผู้บริหาร

Assets/Liabilities Management (ALM) Actuary

เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีบทบาทในการจัดการสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทประกันภัย โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ให้สอดคล้องกับหนี้สินหรือภาระของบริษัท เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และไม่ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย โดยในด้านการลงทุนนั้น เนื่องจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้ที่เข้าใจภาระของบริษัทดีกว่าใคร จากการที่คร่ำหวอดกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาที่เหมาะสมและระดับเงินกองทุนที่เพียงพอ รวมทั้งการวิเคราะห์ภาระผูกพันที่มาจากแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสำรองฯ ที่พอเพียงกับภาระผูกพันนั้นๆ ดังนั้น ALM Actuary จึงเข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการประสานระหว่างงานบริหารสินทรัพย์ของฝ่ายลงทุน กับงานบริหารภาระผูกพันของฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย ให้ทำงานอยู่บนฐานมุมมองที่เข้าใจงานของกันและกัน อันจะนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพในการลงทุนและความมั่นคงของบริษัทจากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า งานคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นเข้าไปมีบทบาทและผูกพันกับส่วนงานต่างๆ เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยอย่างมั่นคงอยู่หลายส่วนงาน ดังนั้น การมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในบริษัทประกันภัยจึงถือเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องเห็นความสำคัญ และรู้วิธีที่จะนำงานคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาส่วนงานต่างๆ ของบริษัท

The future is uncertain. Some of the events that can happen are undesirable. "Risk" is the possibility that an undesirable event will occur. Actuaries are experts in:

  • Evaluating the likelihood of future events.
  • Designing creative ways to reduce the likelihood of undesirable events.
  • Decreasing the impact of undesirable events that do occur.

The impact of undesirable events can be both emotional and financial. Reducing the likelihood of these events helps relieve emotional pain. But some events, such as death, cannot be totally avoided. So, reducing their financial impact is very important. Actuaries are the leading professionals in finding ways to manage risk. It takes a combination of strong analytical skills, business knowledge and understanding of human behavior to design and manage programs that control risk.Actuaries love what they do. Their work is intellectually challenging and they are very well-paid. Actuaries are key players in the management team of the companies that employ them. In a fast-changing world, with new risks and the need for ever-more creative ways to tackle them, there are constant opportunities for personal and professional growth in an actuarial career, and the pleasure of life-long learning. Most actuaries work in a pleasant environment, alongside other professionals, and enjoy the respect of their peers. This is why the actuarial profession has consistently been rated as one of the top five jobs in the United States according to Jobs Rated Almanac.

Actuaries are the analytical backbone of our society's financial security programs. They are the brains behind the financial safeguards we have implemented in our personal lives, so we can go about our daily lives without worrying too much about what the future may hold for us. These are the safeguards that protect us from life's catastrophes. The insight into risk that actuaries have also helps to ensure that our savings are working hard for us, so that everything we love and cherish can grow and flourish. The work of actuaries benefits all of us.

What is risk and how do actuaries manage risk?

Explaining what an actuary does would not be complete without also explaining risk itself.Risk comes in many forms. Every person and organization faces risk. As experts in measuring and managing risk, actuaries fill a significant need in our society. Their contribution to society's psychological, physical and economic well-being is immense. If the risk management programs actuaries develop didn't exist, our economy would not be able to grow as it does. Consider the following:

  1. Would as many people be willing to own a home if fire insurance did not exist?
  2. Would a company build a factory that could be destroyed in an earthquake if it were not protected by insurance?
  3. Would people spend money today and still be confident about their future if there were no retirement programs or social security?
  4. Would the cars people drive be safe if the parts were not rigorously tested to last for many years using mathematical techniques actuaries routinely use?
  5. Would parents enjoy risky and adventurous recreational activities such as rock climbing or skiing if their children faced financial disaster in the event of an accident?
  6. Would the banks (and the money deposited in them) be safe if their assets and liabilities were not carefully managed to control financial risk?
  7. Would the returns on our investments be high if financial institutions such as mutual funds, banks, and insurance companies did not use sophisticated techniques to improve returns without increasing risk too much?
There are many ways to manage risk. While there are some well-established techniques, both academics and practicing actuaries, are constantly inventing new ways to maximize financial results for the participants in our economy, without exposing them to excessive risk. Some popular techniques include:
  • Offsetting one risk with another. Under certain circumstances, two harmful events might possess the characteristic that when the likelihood of one goes up, the likelihood of the other goes down. Thus, if we know that when coffee prices go up, soda prices go down, we might want to invest in both coffee and soda stocks, to manage our risk.
  • Risk is a matter of perspective. What might be harmful to one party, might be good for another. For example, when the value of the dollar goes down against the French Franc, that might be bad for an American business, but favorable for a French business. By trading off the consequences of an undesirable event with another party who is affected favorably, both parties are made better off.
  • Focus on catastrophic risks. Mathematical theory shows that the greatest relief from risk (and consequently, the greatest increase in peace of mind) comes from eliminating the consequences of events that are very unlikely, but result in very big losses. Thus, families should think about what might happen if the breadwinner dies, their house burns down, or they lose all of their savings. They should then implement solutions that reduce the likelihood of these events, as well as manage their financial impact. This might involve purchasing a life insurance policy or investing the savings in many different stocks, to reduce the exposure to any one company's fortunes. Generally, a few simple measures taken to address catastrophic risks have a great impact on our well-being.
  • Diversify, diversify, diversify. It is better to take on many small risks than face one big risk. Many small risks generally average out, to give an outcome that is not too extreme in one direction or another. Results become more predictable. Thus, diversification is an important tool in managing risk.

Where do actuaries manage risk?

At this time, the majority of actuaries work in careers that are associated with the insurance industry, though growing numbers work in other fields. They are heavily involved in insurance because that is society's most powerful answer for managing risk. We reduce our risk of financial loss by transferring it to an insurance company that accepts the risk for a price (which is the insurance premium). Actuaries play a key role in designing insurance plans by determining the premium, monitoring the profitability of insurance companies, and recommending corrective action when appropriate. Actuaries working in insurance companies also ensure that insurance companies have set aside enough funds to pay claims and provide advice on how to invest the insurance companys assets.Actuaries work in all sectors of the economy, though they are more heavily represented in the financial services sector, including insurance companies, commercial banks, investment banks, and retirement funds. They are employed by corporations as well as the state and federal government. Many work for consulting firms. Some are self-employed, enjoying financially rewarding careers that also come with the great flexibility of being one's own boss.

Actuary" was recently included as one of the Best Careers of 2007 in US News and World Report. The job "actuary" has also been rated the second best job in the United States by the Jobs Rated Almanac (Sixth Edition, 2002). The popular reference book lists the actuarial profession above other highly regarded careers such as accountant or attorney. Only "biologist" rated higher. The Jobs Rated Almanac printed five previous editions between 1988 and 2001. In two editions, "actuary" was rated as the best job and in two others, "actuary" was rated second best. "Actuary" has never been rated lower than fourth, a ranking it received in the fifth edition before climbing two spots in the most recent edition.

The editors compiled statistics on 250 occupations, from accountant to zoologist. The occupations are ranked on the basis of six key criteria: environment, income, employment outlook, physical demands, security, and stress. The data comes from government sources, such as the U.S. Bureau of Labor Statistics and the U.S. Census Bureau, as well as studies from trade associations and industry groups.

The Ten Best Jobs

  1. Biologist
  2. Actuary
  3. Financial planner
  4. Computer-systems analyst
  5. Accountant
  6. Software engineer
  7. Meteorologist
  8. Paralegal assistant
  9. Statistician
  10. Astronomer

Actuaries earn professional designations based on the organization they belong to and their status in the professional exam system.When an actuary has met certain professional educational standards by passing a series of exams, he or she achieves the designation of Associate. Actuaries who specialize in property and casualty practice receive the ACAS designation. It stands for Associate of the Casualty Actuarial Society. Actuaries who practice in life, health, finance, investments or pensions receive the Associate of the Society of Actuaries, or ASA, designation.After achieving the Associate designation, the actuary can elect to continue to take exams to achieve the highest designation, Fellow. Casualty actuaries are Fellows of the Casualty Actuarial Society, or FCAS. Fellow of the Society of Actuaries, or FSA, is the designation achieved by life, health, pension, finance, and investment actuaries.

Below are the different actuarial designations and the organizations that grant them. Check out the actuarial alphabet.

FCAS

Fellow of the Casualty Actuarial Society

ACAS

Associate of the Casualty Actuarial Society

FSA

Fellow of the Society of Actuaries

ASA

Associate of the Society of Actuaries

MAAA

Member of the American Academy of Actuaries

FSPA

Fellow of the American Society of Pension Professionals & Actuaries

MSPA

Member of the American Society of Pension Professionals & Actuaries

FCA

Fellow of the Conference of Consulting Actuaries

ACA

Associate of the Conference of Consulting Actuaries

FCIA

Fellow of the Canadian Institute of Actuaries

EA

Enrolled Actuary

เกี่ยวกับใบอนุญาต

สำนักงานคปภ. ให้ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยพิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ในการคำนวณมูลค่าภาระผูกพันตามกรรมธรรม์ประกันภัย (สำรองประกันภัย) เท่านั้น

คุณสมบัติและเงื่อนไข

นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีหน้าที่รับรองรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งบริษัทประกันภัยต้องนำส่งสำนักงาน คปภ. โดยผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นนักคณิตศำสตร์ประกันภัยจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ประกาศกำหนด

ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกัน ชีวิต พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาทางคณิตศาสตร์ประกันภัยตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดจากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และปฏิบัติงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือสถิติที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยตามที่นายทะเบียนประกาศกำหนดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
  2. เป็นสมาชิกระดับเฟลโลของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย


แหล่งข้อมูล
  • คู่มือประชาชน ในหัวข้อ การขอรับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ชีวิต และ
  • การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ATTACHMENT : ประกาศคปภ.
เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย 2559

What we do?

ประเมินว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้นทุนจะเป็นอย่างไร นโยบายของภาครัฐถ้าหากเปลี่ยนไปจะส่งผลอย่างไร อัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ในวันนี้การออกสินค้า การตั้งราคา การจ่ายผลประโยชน์ลูกค้า ตัวแทน การขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึง การตั้งเงินทุนสำรอง ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้บริษัทอยู่รอดและไม่ขาดทุนในอนาคต โดยการตั้งสมมติฐานที่แม่นยำที่สุด